มาย้อนความสถิติพื้นฐานกันสักหน่อยครับ ครั้งนี้มาในรูปแบบของ Series ใช้ชื่อว่า Basic Statistic series ซึ่งจะประกอบไปด้วย
EP.1 Independent Sample t-test
EP.2 One Way ANOVA
EP.3 Pearson Chi-square
EP.4 Pearson Correlation
ในบทความนี้คือ EP.3 เรื่อง Pearson Chi-square
EP.3 เรื่อง Pearson Chi-square
EP นี้ เรามาคุยกันในเรื่องของ Chi-square ครับ สถิติตัวนี้มักจะเขียนตอนนำเสนอรายงานว่า X2 (X-square ที่หมายถึงกำลัง2นะครับ) ที่สำคัญสถิติตัวนี้ ถูกใช้มากในการวิจัยแนวสำรวจครับ (Survey Research) เนื่องจากการวิจัยเชิงสำรวจมักจะถามคำถามที่เป็นตัวเลือกหรือช้อย และยังต้องการรู้ไปอีกว่า ตัวแปรนั้นๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับความพึงพอใจ เป็นต้น
Pearson Chi-square
Chi-square เป็นสถิติที่ทดสอบเรื่องความสัมพันธ์โดยตัวแปรทั้งสองตัวที่นำมาทดสอบกันจะเป็นแบบกลุ่ม หรือ ช้อย ทั้งคู่
ตัวแปรอิสระ เป็นระดับ Nominal หรือ Ordinal เช่น เพศ (ชาย, หญิง, ทางเลือก)
ตัวแปรตาม เป็นระดับ Nominal หรือ Ordinal เช่น การตัดสินใจซื้อ (ซื้อ, ไม่ซื้อ)
จะเห็นว่าทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะเป็นตัวเลือกหรืช้อยเหมือนกัน และการทดสอบนั้น จะแสดงในรูป Crosstabulation หรือตารางไขว้ ที่จะแสดงค่าความถี่ ร้อยละ ของทั้งสองตัวแปรว่าต่างมีกันอยู่เท่าไร
หลังจากนั้น Chi-square จะเข้าไปทดสอบว่า แล้วตัวแปรทั้งสองตัวนั้น มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ชื่อเต็มของ Chi-square คือ Pearson Chi-square เพราะนาย Pearson เป็นผู้คิดค้นสถิตินี้
ตัวอย่างการลงข้อมูลดังภาพ
จากภาพจะเห็นว่า มีตัวข้อมูลอยู่ 2 ตัวแปร คือ Sex มี 2 ช้อย ได้แก่เพศชาย และเพศหญิง และตัวแปร Buy ได้แก่ ซื้อกับไม่ซื้อ เพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับการตัดสินใจซื้อ ว่ามีความสัมพันธ์หรือไม่
เมื่อทำการทดสอบแล้ว ตัว Pearson Chi-square จะบอกว่าทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
หลังจากนั้น ถ้ามีความสัมพันธ์ ก็จะมีการทดสอบต่อไปว่ามีขนาดความสัมพันธ์เพียงใด (Effect size) โดยสถิติที่นำมาทดสอบต่อนั้น ที่นิยมคือ Lambda กับ Phi and Cramers' V
มาดูการคลิกในโปรแกรมกันครับ [VDO]
ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง
follow or subscribe in any channel
tel.086-555-5949
line: @SmartResearchThai
Blockdit: SmartResearchThai
Youtube: SmartResearchThai
Facebook: SmartResearchThai
Comments