top of page

Basic Statistic series - EP.1 t-test




มาย้อนความสถิติพื้นฐานกันสักหน่อยครับ ครั้งนี้มาในรูปแบบของ Series ใช้ชื่อว่า Basic Statistic series ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • EP.1 Independent Sample t-test

  • EP.2 One Way ANOVA

  • EP.3 Pearson Chi-square

  • EP.4 Pearson Correlation


ในบทความนี้คือ EP.1 เรื่อง Independent Sample t-test



EP.1 เรื่อง Independent Sample t-test


t-test หรือ Independent sample t-test คือ

การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

  • เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบ bi-variate คือต้องการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรจำนวน 2 ตัว


  • ระดับของตัวแปรที่ใช้ในการเปรียบเทียบคือ

    • ตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรระดับ Nominal ที่มีคำตอบหรือ Choice ให้เลือกเพียง 2 คำตอบเท่านั้น เช่น เพศ, อายุ (มีให้เลือกว่า ต่ำกว่า 20 และ 20 ขึ้นไป เป็นต้น)

    • ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรระดับ Interval และ Ratio หรืออาจเรียกว่า Scale ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย เช่น ความพึงพอใจ, คะแนนความคิดเห็น เป็นต้น


ตัวอย่างการลงข้อมูลดังภาพ



t-test data
independent sample t-test

จากภาพ จะเห็นว่าเรามีตัวแปรที่เป็นกลุ่ม (ช้อย) ก็คือ Sex มักจะเป็นเพศชาย กับ เพศหญิง แทนด้วยเลข 1 2 หรือจะ 0 1 หรืออะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็น 2 ช้อยเท่านั้น


ในขณะที่ตัวแปรตามที่เราจะใช้นั้น คือ MeanPrice ซึ่งมาจาก Price1-Price5 นำมาหาค่าเฉลี่ยรวมกันเสียก่อน จึงจะนำไปใช้ต่อได้


ถามว่า ทำไมไม่ใช่ Price1-Price5 ไปเลย เนื่องจากว่า Price ทั้ง 5 ตัว เป็นแค่ items คำถาม ที่เราไปถามกลุ่มตัวอย่าง แต่ยังไม่นับเป็นหัวเรื่องนั้นๆ ได้ เช่น เราถามเรื่องราคา เราก็ต้องการรู้ว่า เพศกับราคา มีความแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งคำถามเรื่องราคาประกอบไปด้วย 5 ข้อคำถาม ดังนั้น เราจึงต้องมาหาค่าเฉลี่ยรวมเสียก่อนครับ


จากนั้นเราก็ทำตามขั้นตอนการวิเคราะห์ t-test ต่อไปครับ มาดูวิธีทำกันครับ [VDO]





 

ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel


tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai

Recent Posts

See All

2 Comments


kansinee.p
Sep 11, 2021

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีค่ะ ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ในกรณีที่เราสำรวจตัวอย่าง (แบบสอบถามนักท่องเที่ยว) สองช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ศึกษาเดียวกัน ต้องการทราบว่าสองกลุ่มตัวอย่างนั้นเป็นตัวแทนของประชากรเดียวกันหรือไม่ เราสามารถวิเคราะห์ t-test จากข้อมูลประชากรศาสตร์ (เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้) ระหว่างสองกลุ่มนั้นได้เลยมั๊ยคะ

Like
Replying to

สวัสดีครับ ผมมองคำถามเป็น 3 มุมนะครับ

มุม 1 ถ้าคำว่าเก็บคนละช่วงเวลา คือระบุไว้แล้วว่างานนี้จะใช้เวลาเก็บ 1 เดือน แบบนี้ ก็ยังมองว่าคือช่วงเวลาเดียวกันครับ แต่ถ้า มุม 2 ตั้งใจให้เวลาผ่านไป 1 เดือน 3 เดือน แบบนี้ ไม่แนะนำเพราะมันจะเหลื่อมกับการเก็บแบบ longitudinal ซึ่งควรเก็บกับคนเดิม ถ้าเป็นคนละคน อันนี้อาจมีผลต่อผลได้ ไม่งั้นช่วงเวลาจะกลายเป็นมาอีก1ตัวแปรครับ มุม 3 ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลหลังจากวิเคราะห์ผลไปแล้ว แต่ผลไม่ดี ต้องการเก็บเพิ่ม แบบนี้พอได้ครับ จะมีลักษณะคล้ายๆการทำ bootstrapping ครับ

Like
bottom of page