Answer is Here EP.8: AMOS error-Proceed with Analysis (2) Residual Error
top of page

Answer is Here EP.8: AMOS error-Proceed with Analysis (2) Residual Error



 

Answer is Here EP.8:

AMOS Error - Proceed with Analysis (2) Residual Error



EP.8 ประจำรายการ Answer is Here เป็นเรื่อง "Proceed with Analysis (2) Residual Error"


Outline:


Focus1: Error นี้เกิดขึ้นอย่างไร

Answer is Here EP.8:  AMOS Error - Proceed with Analysis (2) Residual Error
Answer is Here EP.8: AMOS Error - Proceed with Analysis (2) Residual Error

ต่อยอดจาก Answer is Here EP.7 ที่เกิดปัญหาเมื่อวิเคราะห์ 2 Latent ในโมเดลเดียวกัน แล้วไม่ได้ทำการเชื่อมเส้นความสัมพันธ์ มาต่อกันใน EP.8 กัน


ประเด็นปัญหานี้เรียกว่า Residual Error จะเกิดขึ้นเมื่อในโมเดลที่วิเคราะห์มี 2 องค์ประกอบ (Latent/ Factor) ขึ้นไป แล้วมีการสร้างโมเดลพยากรณ์ ที่มีตัวแปรภายนอก (exogenous) และตัวแปรภายใน (endogenous) ดังภาพข้างต้น หมายความว่าตัวแปรภายใน (ตัวแปรถูกพยากรณ์) นั้น ปกติแล้วต้องมีการกำกับ Residual Error แต่ว่ายังไม่ได้กำกับไว้ จึงเกิดการแจ้งเตือนดังกล่าว


ถ้าหากเราทำการวิเคราะห์ต่อไป โดยไม่ลากเส้นกำกับไว้ ก็ยังสามารถวิเคราะห์ต่อได้ แต่จะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป เล็กน้อย เหมือน error uncorrelated variable ใน ep.7


ทีนี้มาดูกันต่อว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร


 

Focus2: Error นี้จะมีผลกระทบอย่างไร


มาต่อใน Focus2 ว่ามีผลอย่างไร เราจะมาดูกันว่าค่าที่ได้เมื่อทำกำกับ และ ไม่กำกับ error นั้น ต่างกันอย่างไร


จากผลลัพธ์เมื่อทำการวิเคราะห์ ในขณะที่ไม่ได้กำกับ error ผลของค่าน้ำหนักใน EOUf มีค่าน้ำหนักค่อนข้างต่ำ และมีค่า chi-square = 2024.797 ซึ่งมีค่าสูงมาก รวมถึงค่าต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์โมเดลฟิต


ทีนี้ ลองมาดูกันว่าแล้วถ้าทำการกำกับ error ค่าต่างๆ จะเป็นอย่างไร




จากภาพผลลัพธ์ เมื่อทำการกำกับ error จะพบว่า ค่าน้ำหนักในองค์ประกอบ EOUf มีค่าสูงขึ้น ซึ่งตรงกับความเป็นจริงของข้อมูล และมีค่า chi-square = 126.555 ณ df=34 รวมถึงค่าโมเดลฟิตต่างๆ ผ่านเกณฑ์เกือบทุกตัว


ดังนั้น ในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าการที่เราทำตามโปรแกรมแนะนำคือสิ่งที่เหมาะสม นอกเหนือจากความเหมาะสมแล้วยังเป็นเรื่องในทางสถิติด้วย เนื่องจากการที่เราไม่กำกับทำให้ df=35 แล้วพอกำกับทำให้ df=34 เหมือนกับว่าเราควรสร้างโมเดลตามเงื่อนไขนี้ แต่ถ้าเราไม่ทำตามผลก็จะมีปัญหา แม้ว่าจะทำงานต่อได้ก็ตาม


เรามาดูต่อในหัวข้อถัดไปครับว่าทำแก้ไขปัญหานี้อย่างไร


 

Focus3: จะแก้ไข้ Error นี้อย่างไร


เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวไว้ใน EP.7 ว่า จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหาอะไรมากนัก แม้จะไม่กำกับก็ยังสามารถวิเคราะห์ต่อได้ แต่อยากแนะนำว่าควรกำกับไว้ตามที่โปรแกรมแจ้งเตือนดีกว่า เพราะส่งผลต่อ parameter ต่างๆ ค่าต่างๆ ด้วย


วิธีการแก้ไข เพียงทำการกำกับ residual error ให้กับตัวแปร EOUf ก็เรียบร้อย ขอเรียกว่าเมนู stamp เพราะสัญลักษณ์เหมือนตัว Stamp ทำการคลิกเลือก Stamp แล้วไปคลิกกำกับไว้ที่ตัวแปร EOUf แล้วทำการตั้งชื่อ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น





 

สรุป


ประเด็นปัญหา Amos Error ในลักษณะนี้ Proceed With Analysis จะไม่ใช่ error ร้ายแรง สามารถวิเคราะห์ต่อได้ แต่ในท้ายที่สุดก็ยังต้องกลับมาแก้ไขตามที่โปรแกรมแนะนำ


โดยปัญหาของ Residual Error นั้น จะมีประเด็นทางสถิติเยอะหน่อย เนื่องจากการไม่กำกับอาจทำให้โปรแกรมไม่ได้วิเคราะห์ผลบางอย่าง อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีผลลัพธ์ออกมาก็ตาม แต่ก็ควรทำตามคำแนะนำในประเด็นนี้จะดีกว่า

 

เรายังมีในรูปแบบ VDO ด้วย มาชมกันได้เลย



 

และนี่ก็เป็นอีกปัญหา ที่อาจพบเจอได้ และถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องสถิติของการวิเคราะห์ CFA SEM นี้ ก็จะทำให้เรา งง และไม่สามารถลุยงานต่อได้


หากสนใจเรียน CFA SEM ด้วย AMOS สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ในทุกช่องทางเลยนะครับ


ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel

.

tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai

bottom of page