Research Article วันนี้ นำเสนอเรื่อง "Self-directed Learning Behavior among Communication Arts Students in a HyFlex Learning Environment at a Government University in Thailand"
.
.
[James, D., Utapao, K., Suvanno, S., Nunez, G. & Senariddhikrai, P. (2024). Self-directed Learning Behavior among Communication Arts Students in a HyFlex Learning Environment at a Government University in Thailand. Open Education Studies, 6(1), 20240028. https://doi.org/10.1515/edu-2024-0028]
.
ความสำคัญของบทความนี้ คือ ผมเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานครับ ได้ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งในบทความนี้ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบอันดับที่สอง หรือ Second Order CFA เพื่อพิสูจน์ตัวชี้วัดของ SDL ในบริบทของ Hyflex ในไทย เนื้อหาเป็นอย่างไร มาติดตามกัน
.
.
1.Abstract
.
บทคัดย่อของบทความนี้ อธิบายว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างเพศ พบว่า มีความแตกต่างกันในด้าน ความรักในการเรียนรู้ (love of learning) และสุดท้ายกล่าวถึงผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ทั้ง 8 ด้านของ SDL สามารถเป็นตัวแทนตัวชี้วัดได้ ประกอบไปด้วย Openness, Self-concept, Initative learning, Responsibilities, Love of learning, Creativity, Positive orientation, และ Problem solving.
2.Hyflex framework
.
มาดูที่ framework ที่เป็นบริบทของบทความนี้ คือ ในบทความได้กล่าวถึง Hyflex learning ที่ใช้เป็นบริบทในการทดสอบความเป็น SDL ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
.
concept ของ hyflex สรุปคร่าวๆ ได้ว่า เป็นการผสมผสานการเรียนแบบ online และ offline คล้ายๆ hybrid แต่องค์ประกอบของ hyflex จะช่วยสนุบสนุนให้ผู้เรียนเกิดการการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของ SDL จึงใช้ concept นี้เป็น based ในการทดสอบเรื่อง SDL
.
ขยายความเพิ่มเติม ได้ว่า Hyflex environment ทางมหาวิทยาลัยได้นำมาปรับใช้อยู่ก่อนแล้วในช่วง COVID ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกันกับ SDL ก็เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนมีความตั้งใจ มีพฤติกรรม ในการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง
.
แต่เนื่องจากบริบทในไทยยังมีการทดสอบ SDL ค่อนข้างน้อย ทีมผู้เขียน จึงใช้โอกาสนี้ในการนำ SDL เข้ามาทดสอบว่านักศึกษามีความพร้อมต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือไม่ ทดสอบภายใต้บริบทของ Hyflex
3.ผลการทดสอบ Result
.
ขอนำเสนอในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
(1) การเปรียบเทียบความแตกต่างของ SDL ในแต่ละด้านระหว่างเพศ พบว่า มีเพียงด้านเดียวที่มีความแตกต่าง คือ ด้าน Love of Learning (t=-1.99, p=0.046)
.
(2) Discriminant validity of SDL เป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดย discriminant เป็นการทดสอบว่าในแต่ละองค์ประกอบ (constructs) มีทั้ง "ความเหมือน" และ "ความต่าง" โดย ค่าในตารางจะประกอบไปด้วยค่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ (latent correlation) และค่าในแนวทแยงคือ square of ave โดยพิจารณาว่า ค่า square of ave นี้ ควรมีค่ามากกว่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ จึงจะยินยันได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 8 นั้น มีทั้งความเหมือนและความต่าง อย่างแน่นอน
.
(3) Second Order CFA เป็นผลขั้นสุดท้ายสำหรับบทความนี้ เป็น highlight ของบทความ เพื่อพิสูจน์ว่า องค์ประกอบทั้ง 8 นั้น เป็นตัวแทนของ SDL ได้จริง โดยพบว่า มีค่าน้ำหนักระหว่าง 0.42-0.57 และมีค่าโมเดลฟิตผ่านเกณฑ์ทุกค่า
.
ตัวภาพการนำเสนอนั้น จะนำเสนอเป็นภาพวาดเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่เบื้องหลังจากโปรแกรมนั้น จะเป็น full cfa model แบบ second order นั่นเอง
สรุป:
บทความนี้นำเสนอเรื่องการทดสอบ ความเป็น SDL บนฐานของ Hyflex Learning
สถิติที่ใช้ คือ Second Order CFA
ผลที่ได้ คือ สามารถสะท้อนองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน ได้
ผลที่ได้ สะท้อนถึงการทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ SDL ทั้ง 8 องค์ประกอบ มีความน่าเชื่อถือและนำไปใช้ต่อได้
ต้องการเรียนสถิติ อยากปรึกษาสถิติทั้งเรื่อง Factor Analysis, CFA, SEM หรือเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย
'นึกถึงสถิติ นึกถึงเรา Smart Research Thai'
ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง
follow or subscribe in any channel
.
tel.086-555-5949
line: @SmartResearchThai
Blockdit: SmartResearchThai
Youtube: SmartResearchThai
Facebook: SmartResearchThai
Kommentare