ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้า (CFA for Validity part1) บทความนี้จะนำเสนอตัวอย่างบทความวิจัยที่ทดสอบ Validity ด้วย CFA ในอีกลักษณะ มาดูกันครับว่าจะเป็นอย่างไร
"ตัวงานวิจัยได้นำเสนอหลักการพื้นฐานเพื่อสะท้อนถึงความสามารถในการวัดของตัวแปรที่มีอยู่ในองค์ประกอบโดยนำเสนอค่าน้ำหนัก (Factor loading) ค่าความเชื่อมั่น (Composite Reliability) ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ (Average Variance Extraction)"
ใน part2 นี้ เป็นบทความของ Radin A Rahman, Radin Siti Aishah and Lope Pihie, Zaidatol Akmaliah (2014). โดยมีชื่อเรื่องว่า Validity and reliability of the social entrepreneurial personality. ซึ่งจากชื่อก็ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นการหาความเชื่อมั่นและตรวจสอบการวัดขององค์ประกอบ เนื่องจากมีคำว่า Validity และ Reliability
จากภาพด้านบนเราจะเห็นและนึกออกทันทีว่างานนี้ทำงานด้วยโปรแกรม AMOS โดยในหัวเรื่องนี้ มี 2 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านการเป็นผู้ประกอบการ (ENTREP_ORI) และองค์ประกอบด้านสังคม (PROSOC_ORI) ซึ่งในงานนี้จะประกอบไปด้วยตัวแปรตั้งต้น 17 ตัวและ 10 ตัว ตามลำดับ และเมื่อทำการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักแล้วพบว่า เหลือเพียง 5 ตัวและ 4 ตัว ตามลำดับ โดยแต่ละองค์ประกอบจะแสดงค่าสำคัญได้แก่ Factor loading, Cronbach alpha, CR, AVE เป็นการดูเกี่ยวกับเรื่อง Convergent คือการทดสอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในองค์ประกอบเดียวกันนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ดังภาพ
จากนั้นทำการทดสอบต่อในเรื่อง Constructed Discriminant คือการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยพิจารณาค่า AVE ของในแต่ละองค์ประกอบต้องมีค่ามากกว่าค่าความสัมพันธ์กำลังสองระหว่างองค์ประกอบ (r-square) ซึ่งจากภาพทั้งภาพด้านบนและด้านล่างจะเห็นว่าทั้งสององค์ประกอบนั้นมีค่า AVE เท่ากับ .500 และ .544 ตามลำดับ โดยมีค่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเท่ากับ .64 ซึ่งเมื่อยกกำลังสองจะได้เท่ากับ .410 ดังภาพ
โดยสรุป จะเห็นว่าในเรื่องการวัดนั้นสถิติหรือเทคนิคที่นำมาใช้นั้นคือ CFA (Confirmatory Factor Analysis) โดยพิจารณาค่า CR AVE ประกอบเพื่อเป็นการยืนยันว่าตัวแปรหรือตัวชี้วัดในองค์ประกอบนั้นๆ มีความสัมพันธ์กันจริง หรือมีความเหมาะสมที่จะอยู่ภายใต้องค์ประกอบนั้นจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกันหากเป็นการทดสอบที่มากกว่า 2 องค์ประกอบ ก็จะเป็นการดูว่าแต่ละองค์ประกอบนั้นมีความแตกต่างกันด้วยหรือไม่
ซึ่งจากกงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า องค์ประกอบการเป็นผู้ประกอบการนั้น (ENTREP_ORI)
จะมีตัวชี้วัดจำนวน 5 ข้อ และองค์ประกอบทางสังคมนั้นจะมีตัวชี้วัดจำนวน 4 ข้อ
อย่างไรก็ตาม ในบทความอาจมีการจำกัดจำนวนหน้าและพื้นที่ในการเขียนบทความ จึงทำให้ไม่ได้นำเสนอข้อคำถามหรือตัวชี้วัดว่าตัวใดหรือข้อคำถามใดที่เป็นตัวชี้วัดของแต่ละองค์ประกอบ
อ้างอิง
Radin A Rahman, Radin Siti Aishah and Lope Pihie, Zaidatol Akmaliah (2014) Validity and reliability of the social entrepreneurial personality. In: 10th European Conference on Management Leadership and Governance ECMLG 2014, 13-14 Nov. 2014, Zagreb, Republic of Croatia. (pp. 506-513).
Комментарии