top of page

Mean Median Mode อย่างง่ายๆ


Mean Median Mode
Mean Median Mode

วันนี้อยากมาเล่าถึงค่า Mean Median และ Mode อย่างง่ายๆ กันครับ



ค่าทั้ง 3 ตัวนี้ เป็นตัวที่นิยมนำมาใช้ในการหาความเป็นตรงกลางของข้อมูล (ขอใช้คำง่ายๆ) ซึ่งตัวที่นิยมคือ ค่าเฉลี่ย จะเรียกว่า Mean หรือ Average ก็ความหมายเดียวกัน แต่ก็ยังมีอีก 2 ตัวที่มีความสำคัญแต่อาจจะนำมาใช้ไม่มาก หรือต้องใช้ในบางกรณี มาติดตามกันครับ


 

สมมติฐานข้อมูลง่ายดังนี้


1 1 1 1 2 2 2 3 5


ข้อมูลชุดนี้มี 9 ตัว เรียงจากน้อยไปมาก โดย 1 น้อยสุด และ 5 มากสุด จำนวน 9 ข้อมูล เรามาลองเล่นกับข้อมูลในการหาค่าตรงทั้ง 3 แบบกันครับ



Mean ค่าเฉลี่ย


ค่าเฉลี่ยคือการนำจำนวนทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนทั้งหมด ซึ่งจากข้อมูลถ้าทำการบวกข้อมูลทั้ง 9 ตัวจะได้


1 + 1 + 1 + 1 + 2 + 2 + 2 + 3 + 5 =18


จากนั้นนำ 18 ไปหารด้วย 9 เพราะมีจำนวน 9 ข้อมูล


18/9 = 2


ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนี้ คือ 2






Median ค่ามัธยฐาน หรือค่ากลาง


จากข้อมูลชุดเดิม เมื่อเราทำการเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก ดังตัวอย่างข้อมูลแล้ว


1 1 1 1 2 2 2 3 5


ให้เราดูว่าเลขตัวไหนคือเลขที่อยู่ตรงกลางพอดี


1 1 1 1 2 2 2 3 5

จะเห็นว่าเมื่อเรียงชุดตัวเลข จากน้อยไปมากแล้ว จะเห็นว่าเลข 2 คือเลขที่อยู่ตรงกลางพอดี


ดังนั้น ความหมายของค่ามัธยฐานก็คือค่าที่อยู่ตรงกลางพอดี


**ทีนี้ ข้อมูลชุดนี้มี 9 ตัว ตัวที่อยู่ตรงกลาง หรือเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางพอดี ณ ข้อมูลชุดนี้คือตำแหน่งที่ 5 เป็นเลขคี่


แต่ถ้าสมมติว่าข้อมูลมี 10 ตัว แล้วตัวที่อยู่ตรงกลางหาตรงกลางไม่ได้ ก็คือ ถ้ามี 10 ข้อมูล ตัวตรงกลางคือตำแหน่งที่ 5 และ 6


สมมติว่า ข้อมูลเป็นดังนี้ 1 1 1 1 2 2 2 3 5 และ 6 ไปอีกตัว ท้ายสุด กลายเป็น 1 1 1 1 2 2 2 3 5 6


ดังนั้น ตัวที่อยู่ตรงกลางจะเป็น 1 1 1 1 2 2 2 3 5 6 ดังนั้น เราจึงอาจจะไม่สามารถตอบได้ว่า ตัวที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางจริงๆ คืออะไร แต่ในกรณีนี้ ชุดข้อมูลนี้ ตัวที่อยู่ตำแหน่ง 5และ6 คือตัวเดียวกัน "2" จึงตอบได้ว่า "2" คือค่ามัธยฐานของข้อมูลชุดนี้


สมมติใหม่ หากชุดข้อมูลเป็นดังนี้ 1 1 1 1 1 2 2 2 3 5 จะเห็นว่าข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง (ตำแหน่ง 5และ6) คือเลข 1 และ 2 เราจึงไม่รู้ว่าตัวไหนกันแน่ที่อยู่ตรงกลาง วิธีการคือ ให้นำตัวเลขตำแหน่ง 5 และ ตำแหน่ง 6 มาบวกกันแล้วหาร 2 ได้เท่ากับ 1.5 ดังนั้น คำตอบค่ามัธยฐานของข้อมูลชุดนี้คือ 1.5






Mode ค่าฐานนิยม



ย้อนกลับมาที่ข้อมูลชุดเดิม 1 1 1 1 2 2 2 3 5 ลองดูว่าตัวเลขไหนที่มีจำนวน "ซ้ำ" กันมากที่สุด


จากข้อมูลเราจะเห็นว่า มีตัวเลขอยู่ 4 ตัว คือ 1 2 3 และ 5 โดยที่

1 มี 4 ตัว

2 มี 3 ตัว

3 มี 1 ตัว

5 มี 1 ตัว


ดังนั้น ตัวที่มีจำนวนซ้ำกันมากที่สุด คือ "1" จึงได้คำตอบว่า "1" คือค่าฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฐานนิยมคือตัวไหนที่นิยม ที่ฮิต ที่มีจำนวนเยอะสุดในชุดข้อมูลนั้นๆ นั่นเอง






สรุป Mean Median Mode


ทั้งสามตัวเกี่ยวข้องกับการวัดค่าที่เป็นตรงกลางทั้งสิ้น โดย Mean หรือค่าเฉลี่ย คือ การเสนอค่าที่เป็นกลางโดยรวมด้วยการเปรียบเทียบในชุดข้อมูลนั้นๆ ค่า Median หรือมัธยฐาน คือ ค่าที่อยู่ตรงกลางของชุดข้อมูลพอดี โดยต้องทำการเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก แล้วดูว่าข้อมูลใดอยู่ตรงกลางพอดี และค่า Mode หรือฐานนิยม คือค่าที่มีความนิยม ก็คือซ้ำ หรือเกิดขึ้นบ่อยสุดในชุดข้อมูลนั้นๆ


 

ต้องการเรียนสถิติ อยากปรึกษาสถิติทั้งเรื่อง Factor Analysis, CFA, SEM หรือเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย



Training and Coaching package
Training and Coaching package

  'นึกถึงสถิติ นึกถึงเรา Smart Research Thai'


ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel

.

tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai





6,489 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page