วันนี้ได้มีโอกาสทบทวนบันทึกเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่อง Moderator SEM เลยอยากมาต่อยอดกันอีกสักนิดนึงใน 3 ประเด็นดังนี้ครับ
ประเด็นแรก Moderator คืออะไร?
คำตอบนั้นขออิงจากบันทึกเก่าที่เคยไว้ครับ สรุปคร่าวๆ ตรงนี้คือ Moderator นั้น เรียกว่าตัวแปรแทรก (หรือตัวแปรกำกับ) คือเข้ามาแทรกหรือกำกับระหว่างกลางของสองตัวแปร คือตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม แล้วดูว่า มีผลต่อสองตัวแปรนั้นหรือไม่ สำหรับ Moderator นั้น ข้อความนี้ได้อ้างไว้ในบันทึกเกี่ยวกับโปรแกรม PROcessMacro (อ่านเพิ่มเติม)
ประเด็นที่สอง Moderator แบ่งได้กี่ประเภท
ตรงนี้ขออ้างอิงจากบันทึกเก่าเรื่อง Moderator SEM (ชื่อคล้ายกับบันทึกนี้) ความว่าแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) Interaction term และ 2) Multiple Group
ประเภทที่ 1 Interaction term เป็นการนำตัวแปรอิสระ กับตัวแปร Moderator มาทำการคูณกัน (ปฏิสัมพันธ์) แล้วส่งไปพยากรณ์ตัวแปรตาม ซึ่งถ้าตัวแปร Interaction นี้สามารถพยากรณ์ได้ ก็แปลว่าตัวแปรแทรกหรือตัวแปรกำกับนี้มีผลที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเดิมนั้น เปลี่ยนไป โดยที่ Interaction term นี้ จะเหมาะกับตัวแปรที่เป็นเชิงปริมาณ
ประเภทที่ 2 Multiple Group เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อทดสอบความแตกต่างว่าถ้าแบ่งข้อมูลของการพยากรณ์จากตัวแปรอิสระไปสู่ตัวแปรตามเป็นกลุ่มๆแล้ว แต่ละกลุ่มจะให้ค่าการพยากรณ์ที่เหมือนหรือต่างกันไปหรือไม่ ซึ่งถ้าต่างกันก็แปลว่าตัวแปรแทรก หรือตัวแปรกำกับนั้นมีผลต่อการพยากรณ์นี้ ซึ่งตัวแปร Multiple Group นี้เหมาะกับตัวแปรที่เป็นเชิงคุณภาพ
ประเด็นที่สาม โปรแกรมที่สามารถวิเคราะห์ Moderator ได้
ประเด็นนี้จะขึ้นอยู่กับระดับของตัวแปรครับ ว่า ระดับตัวแปรที่ใช้ทำการทดสอบ Moderator เป็น Observed หรือ Latent?
หากเป็น Observed ก็จะแนะนำตัวพื้นฐานอย่าง SPSS ก็สามารถทำงานได้ หรือจะเป็น PROcessMacro ที่เป็น plugins ใน SPSS ก็ใช้งานได้ไม่ยาก รวมไปถึงโปรแกรมขั้นสูงอย่าง AMOS LISREL Mplus หรือแม้กระทั้ง SmartPLS ก็ทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งทำโดยการพิจารณาประเภทของตัวแปรอีกที
หากเป็น Latent ตรงนี้จะถูกผลักเข้าไปสู่หลักการของ SEM นั่นคือต้องการทำทดสอบเรื่องราวของ SEM ก่อน จนโมเดลฟิตเรียบร้อยดีแล้ว แล้วจึงทำการทดสอบ Moderator ต่อไป ทีนี้ คำถามคือแล้วจะใช้โปรแกรมอะไรดี ก่อนจะไปตรงนั้น ต้องถามก่อนว่าประเภทของตัวแปรเป็นแบบใด >>>ถ้าเป็นแบบ Interaction term กลุ่มโปรแกรมที่ใช้ได้ก็จะมี Mplus กับ SmartPLS (หรือทางเลือกอย่าง WarpPLS) ที่สามารถใช้ได้ตรงๆ ครับ ใช้คำว่าใช้ได้ตรงๆ เนื่องจากหลักการสำคัญของ Interaction term มันคือการนำตัวแปรมาคูณกันเพราะฉะนั้น ถ้านำไปคูณกันนอกรอบ โปรแกรมไหนก็สามารถทำงานได้หมด แต่ถ้าทำแบบตรงๆ คือให้โปรแกรมมันไปคูณให้เบื้องหลังแล้วเราสนใจที่ผลอย่างเดียว แบบนี้จะเสนอเป็นสองโปรแกรมอย่างที่ว่าไปครับ >>>ถ้าเป็นแบบ Multiple Group ก็สามารถใช้ได้หลายโปรแกรมไม่ว่าจะเป็น AMOS LISREL Mplus และ SmartPLS เพราะหลักการนี้คือการแบ่งกลุ่มทดสอบ ซึ่งอาจจะต้องมีการพิจารณาบางประเด็นเพิ่มเติมคือ หลังจากทำการแบ่งกลุ่มทดสอบเรียบร้อยแล้วเราจะทำการ FIX ค่าในเส้นทางที่เราสนใจจะทดสอบ Moderator นั้นให้เป็น 1 แล้วเทียบค่า Chi-square ระหว่างเส้นที่ทำการ FIX กับไม่ได้ทำการ FIX แล้วดูว่ามีค่า Chi-square นั้นเกิน 3.84 หรือไม่ ถ้าเกินแสดงว่าตัวแปรนั้นเป็นตัวแปร Moderator ครับ แล้วจะมีคำถามกันมั้ยว่าทำไม ไม่ทดสอบ Invariance ไปเลย คือตัว Invariance เนี่ยเขาทำการทดสอบทั้งโมเดลแต่แยกดูเป็นจุดๆ ตั้งแต่เส้นการพยากรณ์ เส้นค่าน้ำหนัก เส้นความแปรปรวน (Step ของ Invariance จะมีตั้งแต่ Configural, Metric, Scalar หรืออาจเรียกเป็นอย่างอื่นที่ความหมายเหมือนกัน) ซึ่งต่างจากการทดสอบ Multiple Group เพื่อดูในเรื่องของ Moderator ครับ >>>อ่านเพิ่มเติมจากบันทึกเก่าได้ที่ [1] [2] หรือจากต้นทางที่ใช้อ้างอิง Zainudin Awang
ขอรวบรวมบันทึกที่เขียนเกี่ยวกับ Moderator ไว้ดังนี้ครับ
1.PROcess by SPSS [อ่านเพิ่มเติม1]
2.Path Analysis Moderator-AMOS sample [อ่านเพิ่มเติม2]
3.Path Analysis Moderator-Mplus [อ่านเพิ่มเติม3]
มาแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้กันครับ หรือถ้าสนใจเรียน ติดต่อได้เลยครับ
Nott 086-555-5949
line: @SmartResearchThai
www.SmartResearchThai.com
FB: SmartResearchThai
#นึกถึงสถิตินึกถึงเรา
Comentários