Nott Panik Senariddhikrai

Jul 22, 20232 min

MANOVA

ได้มีโอกาสทบทวนการวิเคราะห์ MANOVA อีกครั้ง เลยอยากมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งครับ กับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับ MANOVA

ขอสรุปเป็นหัวข้อ outline ดังนี้ก่อน

  • เงื่อนไขเรื่องตัวแปรในการวิเคราะห์ MANOVA

  • ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ MANOVA

  • คำสั่งในการวิเคราะห์ MANOVA

  • การอ่านผล Interpret

  • สรุป


1.เงื่อนไขเรื่องตัวแปรในการวิเคราะห์ MANOVA

ในการวิเคราะห์ MANOVA เงื่อนไขสำคัญคือตัวแปร จริงๆ สามารถพูดได้ว่าหากเป็นตัวแปรเช่นนี้ถึงจะเลือกใช้ MANOVA

สามารถสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้

หากต้องการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร โดยเป็นตัวแปรกลุ่ม (ช้อย) กับตัวแปรปริมาณ (ตัวเลข)

  • ตัวแปรต้นเป็นช้อย จำนวน 2 ช้อย // ตัวแปรตามเป็นตัวเลข จำนวน 1 ตัว
     
    >>เลือกใช้เป็น Independent sample t-test
     

  • ตัวแปรต้นเป็นช้อย จำนวน 3 ช้อยขึ้นไป // ตัวแปรตามเป็นตัวเลข จำนวน 1 ตัว
     
    >>เลือกใช้เป็น One Way ANOVA
     

  • ตัวแปรต้นเป็นช้อย ไม่จำกัดช้อย // ตัวแปรตามเป็นตัวเลข จำนวน 2 ตัว ขึ้นไป
     
    >>เลือกใช้เป็น MANOVA (ตัวแปรต้นสามารถเป็นตัวแปรตัวเลขร่วมได้)
     

     
    **อาจมีคำถามว่าสามารถใช้ Regression ได้หรือไม่ ขอตอบว่า ความพิเศษที่ต้องใช้ MANOVA คือกรณีที่ตัวแปรตามที่มี 2 ตัวนั้น ต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่น สารวัดค่าในเลือด จำนวน 3 ตัว คือ ABC จากชนิดของเครื่องล้างไต 2 ชนิด และยาล้างไต 2 ชนิด
     

     
    ประมาณว่า
     

     
    1) เครื่องล้างชนิดที่ 1 ยาชนิดที่ 1 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    2) เครื่องล้างชนิดที่ 1 ยาชนิดที่ 2 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    3) เครื่องล้างชนิดที่ 2 ยาชนิดที่ 1 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    4) เครื่องล้างชนิดที่ 2 ยาชนิดที่ 2 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     

     
    ดังนั้น ข้อมูลลักษณะนี้จะเป็นมีตัวแปรตาม 3 ตัว คือ ABC เป็นตัวเลข (ค่าเลือด) และมีชนิดเครื่องล้างไต กับ ชนิดยา เป็นตัวแปรต้น เป็นช้อย ตัวแปรตามจึงมีความสัมพันธ์กัน แบบนี้ จึงควรวิเคราะห์ด้วย MANOVA
     

     
    (ตัวอย่างจากหนังสือของ กัลยา วานิชย์บัญชา, 2554. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. น.184)


2.ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ MANOVA

สำหรับข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ MANOVA นั้น มีประเด็นสำคัญนอกเหนือจากตัวแปรมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติแล้วนั้น คือ 1) ค่าความแปรปรวนกับความแปรปรวนร่วมในแต่ละกลุ่มต้องไม่แตกต่างกัน และ 2) ตัวแปรตามต้องมีความสัมพันธ์กัน (ดังที่กล่าวในข้อ1)

  • ค่าความแปรปรวนกับความแปรปรวนร่วมในแต่ละกลุ่มต้องไม่แตกต่างกัน ในประเด็นขอเรียกสั้นๆว่า ทดสอบด้วย Box's M สิ่งที่ต้องการ คือ ไม่มีนัยสำคัญ
     

     
    ความหมายของประเด็นนี้ คือ ค่าความแปรปรวนของสารทั้ง 3 ตัวในแต่ละกลุ่มต้องไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่ว่านี้คือ เมื่อแจกแจงชนิดเครื่องล้างไต กับ ชนิดยาแล้ว จะได้ออกมาเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
     

     
    1) เครื่องล้างชนิดที่ 1 ยาชนิดที่ 1 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    2) เครื่องล้างชนิดที่ 1 ยาชนิดที่ 2 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    3) เครื่องล้างชนิดที่ 2 ยาชนิดที่ 1 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     
    4) เครื่องล้างชนิดที่ 2 ยาชนิดที่ 2 ให้สาร ABC เป็นเท่าไรบ้าง
     

     
    หมายความว่า ค่าความปรวนปรวนของทั้ง 4 กลุ่มที่ว่านี้ ต้องไม่แตกต่างกัน
     

  • ตัวแปรตามต้องมีความสัมพันธ์กัน ประเด็นนี้จะทดสอบด้วย Bartlett's test of Sphericity ค่าที่ต้องการคือมีนัยสำคัญ
     

     
    ประเด็นนี้อย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 1 คือตัวแปรตามต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่นจากตัวอย่างคือสาร ABC ทั้งสามสารต้องสัมพันธ์กัน
     

     
    คำถามคือ ถ้าทดสอบ Bartlett's test แล้วผลปรากฏว่าไม่สัมพันธ์กันล่ะ ก็จะแนะนำให้กลับไปทดสอบแยกตามตัวแปร ใน ANOVA หรือใน t-test แทน เพราะในเมื่อตัวแปรตามไม่สัมพันธ์กัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ M (Multivariate) ANOVA ใช้แค่ ANOVA ธรรมดาก็ได้ ซึ่งจากโจทย์ตัวอย่างนี้ ก็จะเลือกใช้เป็น Two-Way ANOVA เพราะมีตัวแปรต้น 2 ตัว ที่ทำการ cross กันเป็น 4 กลุ่ม


3.คำสั่งในการวิเคราะห์ MANOVA

สำหรับการวิเคราะห์ MANOVA ในบทความนี้ จะขอนำเสนอเฉพาะการวิเคราะห์ในโปรแกรม SPSS โดยขอหยิบวิธีการจากเว็บ Laerd มาแนะนำ สำหรับตัวอย่างจาก Laerd จะเป็นการทดสอบว่ารูปแบบของนักเรียนจากโรงเรียน (school) แบบใด (มี 3 แบบ) มีผลต่อคะแนนคณิตศาสตร์ (Math) กับภาษาอังกฤษ (English) โดยเข้าไปอ่านต้นทางได้ที่


 
https://statistics.laerd.com/spss-tutorials/one-way-manova-using-spss-statistics.php


 
1) Analyze >> General Linear Model

MANOVA-SPSS

2) เลือกตัวแปรตาม (Math English) ไว้ที่ Dependent และ ตัวแปรต้น School ไว้ที่ Fixed factor

MANOVA-SPSS

3) ในคำสั่ง option ให้เลือกเพิ่มเติมที่ Homogeneity test เพื่อออกค่า Box's M (สำหรับการทดสอบความแปรปรวนของตัวแปรตามในแต่ละกลุ่ม) และ Residual SSCP เพื่อออกค่า Bartlett's test (สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม)

เพื่อให้แสดงผลของข้อตกลงเบื้องต้นได้ ที่ว่า ความแปรปรวนของตัวแปรตาม Math English แตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียนหรือไม่ >> ซึ่งต้องไม่แตกต่างกัน และตัวแปรตาม Math English ต้องมีความสัมพันธ์กัน (แต่ในรูปตัวอย่างนี้ไม่มี)

MANOVA-SPSS


4.การอ่านผล Interpret

การอ่านผลการวิเคราะห์ ตามตัวอย่างจาก Laerd โดยมีคำถามว่า School ที่ต่างกันจะมีคะแนน Math และ English ต่างกันหรือไม่ ตารางแรกที่ต้องดูคือ Multivariate Test

MANOVA-SPSS-Interpret

ผลจากตัวอย่างนี้ ดูที่ตาราง Multivariate Test โดยให้ดูที่ค่าของ Wilk's Lambda เป็นหลัก (ซึ่งในหนังสือก็แนะนำให้อ่านค่าจาก Wilk's Lambda เป็นหลัก จะใช้ตัวอื่นในบางกรณีเท่านั้น และดูจากช่องที่แสดงชื่อตัวแปร ในทีนี้ แสดงชื่อตัวแปร School ผลพบว่า school มีนัยสำคัญ เพราะค่า sig < 0.05 (0.000) กล่าวได้ว่า school มีผลต่อคะแนน Math และ English

ตาราง multivariate test คือมองในภาพรวมว่า School มีผลต่อ Math English หรือไม่ แต่ต้องไปดูต่อว่า ถ้าพิจารณาเป็นตัวแปรจะเป็นอย่างไร (School > Math // School > English) ในตาราง Univariate Test จะเป็นตาราง Test of Between Subjects Effect

MANOVA-SPSS-Interpret

จากตารางนี้ เป็นการบอกในรายละเอียดว่า School มีผลต่อทั้ง Math และ English จะเห็นว่าในช่องตัวแปร School ณ Dependent English และ Math มีนัยสำคัญทั้งคู่ ค่า sig<0.05

แสดงว่าเมื่อดูเป็นรายตัวแปร จะเห็นว่าผลสอดคล้องกับภาพรวม จากนั้นจะไปดูการเปรียบเทียบรายคู่เป็นลำดับถัดไปในตาราง Multiple Comparison

MANOVA-SPSS-Interpret

ตาราง Multiple Comparison เป็นตารางเปรียบเทียบรายคู่ ในแต่ละตัวแปร โดยจะนำเสนอในฝั่งของ English และ Math ให้พิจารณาเป็นรายตัวแปรโดยเริ่มดูจาก English จะเห็นว่า School A จะแตกต่างกับ School B และ School C ส่วนตัวแปร Math พบว่า School C จะแตกต่างจาก School B และ School A

นอกจากนี้ ยังสามารถคลิกในคำสั่ง plot ในตอนต้นได้ เพื่อให้ออกกราฟเปรียบเทียบค่าในแต่ละ school


5.สรุป

โดยสรุป การวิเคราะห์ MANOVA จะเน้นที่ตัวแปรตามมี 2 ตัวขึ้นไป และต้องสัมพันธ์กัน และต้องเป็นตัวแปรเชิงตัวเลข (continuous) และต้องทดสอบข้อตกลงเบื้องตนให้ครบถ้วน ซึ่งถ้าข้อตกลงเบื้องต้นไม่ผ่าน ก็แนะนำให้กลับไปใช้ t-test หรือ ANOVA ที่เป็นการทดสอบตัวแปรเดี่ยวตามเดิม

อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อสังเกตว่า การอ่านผลจะเริ่มอ่านจากผลโดยรวม (Multivariate Test) ตามด้วย Univariate Test (Between Subject) ซึ่งไม่ต่างจากการวิเคราะห์แยกด้วย ANOVA

แต่ !!! อย่างไรก็ยังมีความสำคัญและจุดสังเกตบางประการคือค่าเฉลี่ยที่เป็นการเปรียบเทียบรายคู่ จะพิจารณาซ้อนกันไปตามตัวแปรตามที่มี ไม่ได้เป็นค่าเฉลี่ยแบบตัวแปรเดี่ยวๆ


ต้องการเรียนสถิติ อยากปรึกษาสถิติทั้งเรื่อง Factor Analysis, CFA, SEM หรือเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้เลย

บริการสอนสถิติ จับมือทำ Stat Coaching

'นึกถึงสถิติ นึกถึงเรา Smart Research Thai'


 
ร่วมติดตามได้ทุกช่องทาง

follow or subscribe in any channel

.

tel.086-555-5949

line: @SmartResearchThai

email: contact@SmartResearchThai.com

www.SmartResearchThai.com

Blockdit: SmartResearchThai

Youtube: SmartResearchThai

Facebook: SmartResearchThai

#ปรึกษาสถิติ #สอนใช้โปรแกรมสถิติ #แก้ปัญหาสถิติ

    700
    0